Skip to Main Contents

Kando* Research

*คันโด คือคำในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งใช้แสดงออกถึงความรู้สึกพึงพอใจอย่างลึกซึ้ง ที่มาจากการได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าเหนือความคาดหมาย

ที่มาของโครงการ e-plegona

แผนกออกแบบของบริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด และ บริษัทยามาฮ่า คอร์เปอเรชั่น จำกัด ร่วมมือกับ Dr. Mark Changizi และ Shinsuke Shimojo Laboratory ของสถาบัน California Institute of Technology ซึ่งเป็นพันธมิตรในการทำวิจัยร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ของ Kando ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เหมือนกันกับปรัชญาองค์กรของยามาฮ่าทั้งสองบริษัท โดยทีมทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาว่าจะอธิบายสาระสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดประสบการณ์ Kando ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งศึกษาวิธีในการสร้างประสบการณ์ดังกล่าว ผ่านงานศิลปะและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์
และส่วนหนึ่งของการร่วมมือในครั้งนี้ ทีมจัดแสดงงานศิลปะเชิงปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ (an Interactive artwork) ที่เรียกว่า e-plegona ในนิทรรศการต่างๆหลายแห่ง

*E-Plegona เป็นชื่อที่ถูกตั้งขึ้นโดยการเอาคำภาษาอังกฤษโบราณ คำว่า plegona (การเคลื่อนไหวร่างกาย) ซึ่งว่ากันว่าเป็นรากศัพท์ของคำว่า Play มาผสมเข้ากับการเพิ่ม e ด้านหน้าของคำ หมายถึง & ในภาษาอิตาลี และกลายเป็นสัญลักษณ์ของกิจกรรมรูปแบบใหม่ เช่น อีสปอร์ต

รูปแบบและวิธีการเล่นของ e-plegona

e-plegona คือ เครื่องจำลองงานศิลปะประดิษฐ์เชิงปฏิสัมพันธ์โต้ตอบที่ใช้ผู้เล่นสองคนจับคู่กัน โดยให้ผู้เล่นแต่ละคนสร้าง “ตัวโน๊ต” โดยแตะลงบนหน้าจอสัมผัสทรงกลมของเครื่องจำลอง เพื่อส่งรูปแบบจังหวะไปยังคู่เล่น นอกจากนี้ผู้เล่นยังสามารถสร้าง “เสียงดนตรี” โดยการแตะลงบน “ตัวโน๊ต” ซึ่งสร้างขึ้นโดยคู่เล่น เพื่อฟังรูปแบบจังหวะของผู้เล่นอีกคนได้
ในการเล่น e-plegona ผู้เล่นแต่ละคนต้องทำหน้าที่ทั้งสองบทบาท คือ สร้างตัวโน๊ตและสร้างเสียง ในการเล่นแต่ละครั้ง ผู้เล่นสองคนจะตกลงบทบาทของกันและกัน โดยให้ผู้เล่นทำความเข้าใจในเจตนารมณ์ของอีกฝ่ายผ่านกระบวนการสื่อสารทางความรู้สึกโดยไม่มีการพูดจากัน เช่นการแสดงออกทางสีหน้า หรือรูปแบบของตัวโน๊ตและโทนเสียงของดนตรีที่ทั้งสองฝ่ายสร้างขึ้น จากนั้นงานศิลปะประดิษฐ์ซึ่งอยู่ตรงกลางหน้าจอของเครื่องจำลองฯ จะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นจากการซึมซับการสื่อสารโต้ตอบของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย

ที่มาของศิลปะประดิษฐ์ e-plegona

จากการพูดคุยและหารือร่วมกันระหว่างทีมนักวิทยาศาสตร์และผู้สร้าง เราตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดประสบการณ์ Kando เอาไว้สามประการ

  • ประการแรก Kando เกิดจากการกระทำทางกายภาพ หรือ สิ่งเร้าทางกายภาพ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ของ ยามาฮ่า เช่น เครื่องดนตรี ไม้กอล์ฟ รถจักรยานยนต์ เรือ และพาหนะเคลื่อนที่อื่นๆ ซึ่งต้องใช้ร่างกายในการควบคุมทั้งสิ้น
  • ประการที่ 2 Kando เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจอย่างลึกซึ้ง
  • ปัจจัยที่สามที่ทำให้เกิด Kando คือความไม่หยุดนิ่งของอารมณ์ความรู้สึก ทั้งบริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ ( Revs Your Heart) และ ยามาฮ่า คอร์เปอเรชั่น (Make Waves) ต่างก็ใช้สโลแกนที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกัน

ด้วยเหตุนี้เราจึงคาดว่าการเกิดประสบการณ์ Kando นั้นเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากกิจกรรมทางร่างกายและเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์

จากที่ได้อธิบายเอาไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อให้ e-plegona สามารถสร้างรูปแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของอารมณ์ความรู้สึกขึ้นมาได้ จำเป็นต้องให้ผู้เล่นสร้างตัวโน๊ตและเสียงดนตรี เครื่องจำลองใช้ผู้เล่นสองคนที่ตกลงบทบาทของตนโดยให้ผู้เล่นทำความเข้าใจในเจตนารมณ์ของอีกฝ่ายผ่านกระบวนการสื่อสารทางความรู้สึกโดยไม่มีการพูดจากัน ซึ่งการสื่อสารเช่นนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดประสบการณ์ Kando ข้อมูลอ้างอิงจากงานวิจัยของ Changizi and Barber (2022), การแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ได้รับการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากการเจรจาและพูดคุยเมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน และการเจรจาดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเป็นการสื่อสารด้วยการแสดงออกทางความรู้สึกด้วยภาษากาย เช่น การแสดงออกทางสีหน้า ซึ่งวิธีการสื่อสารดังกล่าวจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของอารมณ์ความรู้สึก และเมื่ออ้างอิงจากการพิจารณาทฤษฎีดังกล่าว เราจึงสร้างระบบจำลองการสื่อสารแลกเปลี่ยนทางความรู้สึกที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายส่งถึงกันโดยไม่มีการพูดจากัน เพื่อพยายามสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของอารมณ์ความรู้สึกนั่นเอง

และนี่คือวัตถุประสงค์ในการจัดแสดงแบบจำลองศิลปะประดิษฐ์เชิงปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ ( e-plegona) ของเราที่ทำขึ้นเพื่อค้นหาวิธีการสร้างประสบการณ์ Kando ซึ่งเกิดจากกิจกรรมทางกายและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของภาวะอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน หากคุณมีแนวคิดในการประยุกต์ใช้ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีของเรา เรายินดีที่จะพูดคุยและรับฟังแนวคิดของคุณ

Exhibition schedule

Event : Bangkok International Motor Show open new window
Date : 27 March-7 April 2024
Place : Impact Muang Thong Thani

Event : EICMA 2023open new window
Date : 7-12 November 2023
Place : Fiera Milano (Milano, Italy)

Event : TOA Festivalopen new window
Date : 5-6 July 2023
Place : Wilhelm Hallen (Berlin, Germany)

Event : hub.berlinopen new window
Date : 28-29 June 2023
Place : STATION Berlin (Berlin, Germany)

Event : Creative Industries Expo in SXSW2023open new window
Date : 12-15 March 2023
Place : Austin Convention Center (Austin, Texas, USA)
Booth No : 1126

Installation view at SXSW 2023

CREDIT

Research Partners
Dr. Mark Changizi
California Institute of Technology (Prof. Shinsuke Shimojo, Dr. Daw-An Wu, Mr. Amir-Vala Tavakoli)

Visual Design + Direction
WOW inc.

Music
Sound Designer Masato Hatanaka

YAMAHA YAMAHA MOTOR
Back to
Top